CLICK TO VERIFY: This site uses a GlobalSign SSL Certificate to secure your personal information.

15 คำถามยอดฮิต! ก่อนตัดสินใจเสริมหน้าอก

คุณหมอกัน Someko ศัลยแพทย์ตกแต่งเฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญเรื่องการผ่าตัดหน้าอก

 

1. เสริมหน้าอกแล้ว สามารถให้นมลูกได้หรือไม่

หลังเสริมหน้าอกสามารถให้นมลูกได้ตามปกติ เนื่องจากในการเสริมหน้าอกแพทย์จะไม่ได้วางซิลิโคนไปกดทับเนื้อนมหรือท่อน้ำนม และไม่ได้ทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณเนื้อนมหรือท่อน้ำนม ดังนั้นกระบวนการผลิตน้ำนมสามารถเกิดได้ตามปกติในคุณแม่ที่มีการเสริมหน้าอกไป 

 

2. หลังเสริมหน้าอกไปแล้วสามารถตรวจ Mammogram ได้หรือไม่

ซิลิโคนหน้าอกในปัจจุบัน มีความยืดหยุ่นที่ค่อนข้างสูงมากๆ ดังนั้นหลังเสริมหน้าอกไปสามารถ Mammogram เพื่อคัดกรองมะเร็งเต้านมได้ตามปกติโดยไม่ต้องกังวลว่าซิลิโคนหน้าอกจะแตก แต่แนะนำให้ตรวจ Mammogram หลังจากผ่าตัดเสริมหน้าอกไปแล้วอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าแผลผ่าตัดหายสนิทดีแล้ว 

 

3.หลังเสริมหน้าอกต้องพักฟื้นนานแค่ไหน

หลังผ่าตัดเสริมหน้าอกสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติตั้งแต่วันแรกที่ผ่าตัดไป แต่อาจต้องระวังในส่วนของแผลผ่าตัดในช่วงแรกๆ จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการยกของหนักและงดออกกำลังกาย ในช่วง 2-3 สัปดาห์ หลังจากนั้นสามารถเริ่มออกกำลังกายเบาๆได้ และกลับมาออกกำลังกายได้ตามปกติในช่วง 8-12 สัปดาห์ หลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก 

 

4. หลังเสริมหน้าอกต้องใส่ Support bra นานแค่ไหน

แนะนำให้ใส่ Support bra หลังการผ่าตัด ในช่วง 4-8 สัปดาห์แรก เพื่อช่วยลดอาการบวม และช่วย support ให้โครงของเต้านมเข้าที่ได้เร็วขึ้น หน้าอกสวยเร็วขึ้น และหลังจาก 2 เดือน ก็สามารถใส่ bra ของคนไข้ได้ตามปกติ

 

5. หลังเสริมหน้าอก จำเป็นต้องนวดหน้าอกหรือไม่

ขึ้นอยู่กับตำแหน่งในการวางซิลิโคนหน้าอก ว่าอยู่เหนือกล้ามเนื้อ อยู่ใต้กล้ามเนื้อ หรือเป็นแบบ Dual Plane รวมถึงชนิดของซิลิโคนด้วย ว่าเป็นผิวเรียบ หรือผิวขรุขระ

  • หากเสริมหน้าอกโดยวางซิลิโคนไว้เหนือกล้ามเนื้อ และใช้ซิลิโคนผิวเรียบ จะแนะนำให้นวดหน้าอกร่วมด้วย เพื่อลดโอกาสในการเกิดพังผืดรดรั้ง
  • แต่ในปัจจุบันเรานิยมใช้ซิลิโคนผิวขรุขระมากกว่า และตำแหน่งในการวางซิลิโคนมักจะวางใต้กล้ามเนื้อ หรือวางแบบ Dual Plane การนวดจึงอาจไม่จำเป็น เนื่องจากทั้งตัวซิลิโคนและตำแหน่งที่วางซิลิโคนเองจะช่วยลดโอกาสในการเกิดพังผืดได้ดีอยู่แล้ว
  • หากต้องการนวดหน้าอก จะแนะนำให้เริ่มนวดเมื่อแผลหายดีแล้ว และคนไข้เริ่มหายเจ็บหน้าอก สามารถนวดได้ทุกวัน นวดเบาๆ ไม่ต้องรุ่นแรงมาก

 

6. มีก้อนซีสต์ที่หน้าอก สามารถเสริมหน้าอกได้หรือไม่

หากมีก้อนซีสต์ที่เต้านม แนะนำให้ตรวจอย่างละเอียดกับศัลยแพทย์ตกแต่งหรือศัลยแพยท์ผู้เชี่ยวชาญด้านเต้านมก่อน เพื่อดูว่าซีสต์หรือก้อนเนื้อนั้นเป็นมะเร็งหรือเป็นก้อนเนื้อปกติ หากก้อนเนื้อที่ตรวจพบเป็นก้อนเนื้อปกติและไม่ได้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ก็จะสามารถเสริมหน้าอกได้ตามปกติ

 

7. การเสริมหน้าอกสามารถช่วยแก้ปัญหาหน้าอกห่างได้หรือไม่

คนไข้ที่มีปัญหาหน้าอกห่าง จะต้องเข้ามาตรวจกับแพทย์เพื่อประเมินลักษณะทรวงอกและลักษณะของเต้านมเดิมก่อน เพื่อดูว่าการใส่ซิลิโคนหน้าอกเข้าไป ควรเลือกขนาดของซิลิโคนเท่าไหร่ เลือกใช้ซิลิโคนแบบไหน (ดู้ทั้งขนาดและความกว้างของฐานซิลิโคน) สามารถทำให้เนื้อหน้าอกหรือหัวนมชิดกันได้มากขึ้นแค่ไหน โดยทั่วไปการเสริมหน้าอกหากเลือกใช้ซฺิลิโคนที่เหมาะสมก็จะช่วยให้หน้าอกและหัวนมกลับมาชิดกันได้มากขึ้น


8.ภาวะนมแข็งเกิดจากอะไร และสามารถแก้ไขได้อย่างไร

ภาวะนมแข็งหรือพังผืดหดรั้งสามารถเกิดขึ้นได้หลังจากการเสริมหน้าอก เป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายกระทำต่อตัวซิลิโคน ร่างกายมีการสร้างพังผืดขึ้นมารัดซิลิโคนไว้ ทำให้ซิลิโคนมีภาวะผิดรูป อาจมีอาการเจ็บหรือปวดร่วมด้วยได้

การป้องกันภาวะนมแข็ง แต่ภาวะนมแข็งสามารถป้องกันได้โดยการวางซิลิโคนแบบ Dual Plane หรืออาจวางซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อก็ได้เช่นกัน ร่วมกับการเลือกใช้ซิลิโคนผิวขรุขระ

การแก้ไขภาวะนมแข็ง ภาวะนมแข็งจะแบ่งเป็นเกรด 1 2 3 4 แพทย์จะต้องทำการประเมินก่อนว่าภาวะนมแข็งที่คนไข้เป็นอยู่ในเกรดไหน ซึ่งในการแก้ไขแพทย์จะต้องผ่าตัดเพื่อเอาตัวซิลิโคนออก และทำการเลาะพังผืดออกบางส่วนหรืออาจเลาะพังผืดออกทั้งหมด ขึ้นกับปัญหาของแต่ละเคส และในกรณีที่คนไข้ต้องการแก้ภาวะนมแข็งและเปลี่ยนซิลิโคนหน้าอกใหม่ด้วย แพทย์จะทำการเปลี่ยนชั้นที่จะวางซิลิโคนให้เป็นแบบ Dual Plane หรือ ใต้กล้ามเนื้อ ร่วมถึงเลือกใช้ซิลิโคนผิวขรุขระแทน

 

9. ภาวะนมแฝดคืออะไร ป้องกันได้อย่างไร

ภาวะนมแฝด คือ ภาวะหลังเสริมหน้าอกแล้วซิลิโคนทั้งสองข้างถูกดันมาให้อยู่ชิดกัน อาจถูกดันให้มาอยู่เป็น Pocket เดียวกัน ( Pocket คือ โพรงที่แพทย์เลาะขึ้นมาเพื่อวางซิลิโคนหน้าอก โดยปกติซิลิโคนควรจะอยู่ใน Pocket แต่ละข้าง ตามตำแหน่งที่เหมาะสม) มักเกิดจากการที่พยายามทำให้หน้าอกดูชิดกันมากขึ้น แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการเลือกขนาดซิลิโคนให้เหมาะสมและใช้เทคนิคในการผ่าตัดที่เหมาะสม

การแก้ไขภาวะนมแฝด

  • แก้นมแฝด พร้อมเสริมหน้าอกใหม่ทันที : แพทย์จะต้องซิลิโคนเดิมออกและเปลี่ยน Plane ในการวางใหม่ (อาจเป็นใต้ชั้นกล้ามเนื้อ หรือ Dual Plane) เลือกตำแหน่งในการวางให้เหมาะสม
  • แก้นมแฝด แบบถอดซิลิโคนพักก่อน : แพทย์จะทำกาดถอดซิลิโคนออกก่อน และให้คนไข้พักซักระยะจนกว่าแผลจะหายดี หลังจากนั้นค่อยนัดเสริมหน้าอกใหม่ โดยแพทย์จะทำการเลาะ Pocket สำหรับวางซิลิโคนใหม่ และเลือกตำแหน่งในการวางให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้หน้าอกกลับมาชิดกันอีก

 

10. หัวนมมีตำแหน่งไม่เท่ากัน การเสริมหน้าอกสามารถช่วยแก้เรื่องตำแหน่งหัวนมได้หรือไม่

การเสริมหน้าอกจะช่วยให้ตำแหน่งของหัวนมมีความใกล้เคียงกันมากขึ้นได้ โดยอาจทำร่วมกับการผ่าตัดย้ายหัวนม เพื่อเลื่อนตำแหน่งหัวนมให้ใกล้เคียงกัน โดยจะพิจารณาตามปัญหาของคนไข้แต่ละราย

 

11. หลังจากเสริมหน้าอก สามารถใช้งานหน้าอกได้ตามปกติหรือไม่

เป็นคำถามที่ถามกันมาเยอะมากๆ หลังจากการเสริมหน้าอกหากแผลหายดีแล้ว สามารถบีบหน้าอกได้ตามปกติหรือมี sexual intercourse ได้ตามปกติ เนื่องจากในปัจจุบันผิวของซิลิโคนหน้าอกถูกออกแบบมาให้มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นได้ดีมากๆและเจลข้างในสามารถคืนรูปได้ตามปกติ ทำให้ไม่ว่าจะบีบแรงแค่ไหนซิลิโคนก็จะกลับไปสู่ทรงปกติได้ และไม่ต้องกังวลเรื่องซิลิโคนแตก หากมีการบีบที่แรงมากๆจริงๆ คนไข้จะรู้สึกเจ็บจนทนไม่ไหวก่อนที่ซิลิโคนจะแตกแน่นอน

 

12. การเสริมหน้าอกของผู้หญิงและสาวประเภทสอง เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

มีความแตกต่างกันเล็กน้อย เนื่องจาก

  1. ขนาดของหัวนมที่ไม่เหมือนกัน
  2. เนื้อนมของผู้หญิงจะมีเนื้อนมที่มากกว่า คลุมชั้นของซิลิโคนหน้าอกได้ดีกว่า
  3. สาวประเภทสองที่ทานฮอร์โมนกับไม่ได้ทานฮอร์โมน ก็จะมีลักษณะของหน้าอกที่แตกต่างกัน

แต่ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือสาวประเภทสองก็สามารถเสริมหน้าอกได้เหมือนกัน โดยแพทย์จะต้องเลือกเทคนิคและซิลิโคนให้เหมาะกับสรีสระเดิมของคนไข้

 

13. ถ้ามีเนื้อหน้าอกน้อยมากๆ สามารถเสริมหน้าอกได้หรือไม่

คนไข้ที่มีเนื้อหน้าอกน้อยมากๆและต้องการเสริมหน้าอก สามารถเสริมหน้าอกได้แต่จะต้องเลือกขนาดซิลิโคนที่เหมาะสม ไม่ใหญ่จนเกินไป รวมถึงจะต้องวางซิลิโคนใต้ชั้นกล้ามเนื้อ หรือ Dual Plane เพื่อป้องกันไม่ให้เห็นขอบซิลิโคน แต่หากหลังจากที่เสริมหน้าอกไปแล้ว ยังพบว่าเห็นขอบซิลิโคนอยู่ สามารถมา touch up เพิ่มเติมได้ด้วยการเติมไขมันบริเวณเนินอกด้านบน หรือบริเวณที่เห็นขอบซิลิโคนได้ เพื่อให้หน้าอกมีลักษณะอวบอิ่มและเป็นธรรมชาติมากขึ้น

 

14. การเสริมหน้าอก เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ALCL จริงหรือไม่

คนไข้ที่เสริมหน้าอกในสมัยก่อนๆ การใช้ซิลิโคนบางรุ่นทำให้มีอุบัติการณ์การเกิด ALCL เพิ่มขึ้น อยู่ที่ประมาณ 1 : 80,000 - 1 : 100,000 ของคนที่เสริมเต้านม แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาผิวของซิลิโคนให้ดีมากยิ่งขึ้น โอกาสที่จะทำให้เกิด ALCL จะค่อนข้างน้อย

 

15. ต้องอายุเท่าไหร่จึงจะสามารถเสริมหน้าอกได้

แนะนำว่าควรมีอายุ 20 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป จะเป็นช่วงอายุที่แนะนำให้สามารถเสริมหน้าอกได้

ลงทะเบียน รับโปรโมชั่นพิเศษ